วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ละครเหนือมนุษย์


ณ วิทยาลัยประจิม กระถิน/อินทุกา (ดาวิก้า โฮร์เน่) สาวจอมแก่นแสบซ่าส์ คอยดูแลอารักขาแก้วรุ้ง (อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์) เพื่อนสาวแสนสวย นิสัยดีจากการกลั่นแกล้งของแก๊งสามสาวรสผลไม้ คือ ขนุน (ณัฐวรา หงษ์สุวรรณ), ลำไย (สวกร ติยะสวัสดิ์กุล), ลิ้นจี่ (ณัฐธยาน์ สุวรรณโรจน์) ที่อิจฉาแก้วรุ้งได้รับเลือกเป็นดาวเด่นในการคัดเลือกเชียร์ลีดเดอร์ประจำคณะ โดยหลอกแก้วรุ้งไปขังไว้ที่ตึกหลังวิทยาลัย แล้วบอกคณะกรรมการว่าแก้วรุ้งไม่สบาย ขอสละสิทธิ์ กระถินได้ยินเลยรู้ว่าเป็นแผนของสามสาวนี้แน่นอน จึงแกล้งทำเป็นว่าบอร์ดไฟฟ้าในงานระเบิดและโยนประทัดใส่พวกนั้น แล้วรีบไปช่วยแก้วรุ้งทันที จนมาถึงห้องน้ำหญิงเปิดประตูหาแก้วรุ้งกลับเปิดมาเจอ ต๋องหรือตรัยเทพ โอชาวานิช (ชนะพล สัตยา) หนุ่มน้อยหน้าใส แต่เซ่อซ่าจนถูกรุ่นพี่ในชมรมคนเล่นกล้ามแกล้งอยู่บ่อยๆ กำลังแก้ผ้าอาบน้ำอยู่

หลังจากโดนแกล้งให้ยกดรัมเบลจนเป็นลมแล้วรุมเขียนหน้าต๋องเละเป็นหมีแพนด้า และอู๊ด (สุรบดินทร์ สมบัติเจริญ) เพื่อนตัวแสบก็แอบสลับป้ายห้องน้ำชายเป็นห้องน้ำหญิงอีก ทำให้กระถินมาเจอต๋องในสภาพโป๊ และคิดว่าเป็นโจรปล้นสวาท เลยคว้าไม้ถูพื้นไล่ตีต๋องทั่ววิทยาลัย ด้านแก้วรุ้งพยายามหนีออกจากตึกที่ถูกล็อคไว้แน่นหนา ได้ยินเสียงแซกโซโฟนดังกังวานเข้ามา เดินไปตามเสียงเพลงมาพบกับเหมันต์ (ณัฏฐ์ ทิวไผ่งาม)หนุ่มหน้าหยกสไตส์เกาหลี ทันทีที่พบกันทั้งสองสบตากันเสมือนว่ามีอำนาจดึงดูดคนทั้งสองไว้ตั้งแต่แรกพบ ทันใดนั้น โคมไฟอันใหญ่ก็หลุดร่วงลงมาใส่แก้วรุ้ง เหมันต์พุ่งมาช่วยด้วยความเร็วมากและเอาแขนป้องโคมไฟไว้ โคมไฟกลับระเบิดแตกละเอียดร่วงลงบนพื้นอย่างอัศจรรย์พร้อมกับแก้วรุ้งตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วช็อกสลบไป

ส่วนต๋องหนีการไล่ล่าของกระถินลงมาหลบในบ่อกบของดร.ชาติหรืออาจารย์เพี้ยน (สุรวุฑ ไหมกัน) ที่ชอบทำตัวพิลึกพิลั่นและมีพฤติกรรมแปลกๆ ระหว่างต๋องหลบอยู่ มีงูเห่าตัวใหญ่แผ่แม่เบี้ยอยู่ข้างๆ ต๋องตกใจร้องสุดเสียงจนกระถินสะดุ้งล้มลงแล้วสร้อยพระนาคปรกที่ใส่ติดตัวอยู่ตลอดหลุดออก ทำให้อยู่ๆ ท้องฟ้าสั่นสะเทือนพร้อมกับมีสายรุ้งเปล่งประกายบนศีรษะกระถิน และด้วยพลังจิตในตัวกระถิน ทำให้งูเห่าเผ่นหนีทันทีที่กระถินตวาดไล่ ต๋องตะลึงล้มหมดสภาพ กระถินจึงพามาปฐมพยาบาลที่ห้องพยาบาลจจนมาเจอกับแก้วรุ้ง แก้วรุ้งบอกทุกคนว่าเหมันต์ช่วยเธอจากเหตุโคมไฟหล่นลงมาใส่ แต่ไม่มีใครเชื่อเพราะโคมไฟยังปกติ และเหมันต์กลับว่าเธอฝันกลางวัน ทำให้แก้วรุ้งไม่เข้าใจว่าทำไมต้องโกหกด้วย

เหมันต์เป็นลูกบุญธรรมของ ดร.อมร เหมราช (กรเศก โคว์นิน)นักธุรกิจผู้มีเสน่ห์และชื่อเสียง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยประจิมแห่งนี้เพื่อเป็นที่ศึกษาของเหมันต์ เขาตามหาเหมันต์จนมาเจอกับกระถินที่ปลื้มในความเก่งของเขาแล้วขอลายเซ็นต์ เหมันต์ได้พบกับต๋อง เพื่อนรักวัยเด็กที่สถานสงเคราะห์เด็กกำพร้า แต่พวกเขาต่างกันสุดขั้ว ต๋องได้อยู่กับแป๊ะเล้ง (เด่น ดอกประดู่) และแม่สำลี (ปัทมา ปานทอง) พ่อแม่บุญธรรมที่ขายบะหมี่เกี๊ยว ถึงจะจนแต่ก็มีความสุขเพราะแป๊ะเล้งและแม่สำลีรักและดูแลสั่งสอนอย่างดีต่างกับเหมันต์ที่ดร.อมรเลี้ยงไว้เพื่อเป็นทาสรับใช้สายพันธุ์พิเศษ คอยทำงานลับให้โดยไม่เคยใส่ใจดูแล จะเรียกเป็นลูกเฉพาะเวลาอยู่ต่อหน้านักข่าว โดยมีกินรี (มาริสา อานิต้า) มือขวาของดร.อมรคอยควบคุมเหมันต์

อาจารย์เพี้ยนปลอมตัวเป็นตัวตลกมากำชับให้กระถินใส่สร้อยพระนาคปรกไว้ตลอดเวลาเพราะอาจารย์เพี้ยนเป็นพ่อของกระถิน แต่จำต้องปิดไว้ เนื่องจากมีบัญชีแค้นกับดร.อมรที่เคยเป็นเพื่อนรักของเขา เมื่อเจ็ดปีก่อน เขาชื่อดร.ชาติ ชโรดมร่วมมือกับดร.อมรคิดค้นยาต้านมะเร็งสูตรใหม่โดยมีกินรีเป็นหนูทดลองแล้วรักษาได้จริงๆ เขาจะนำไปให้หน่วยงานรัฐ แต่ดร.อมรขัดขวางจะเอาไปผลิตขายเอง แล้วไล่ฆ่าเขา เขาหนีตายมาซ้อนแผนหลอกดร.อมรเข้าห้องฉายรังสีแล้วปล่อยรังสีออกมาเต็มพิกัด ทำให้ร่างดร.อมรสลายไปในพริบตา แล้วรีบไปพาเอมอร (จุฑาทิพย์ ครุธามาศ) ภรรยาและอินทุกาลูกสาวหนีแต่กลับมาเจอดร.อมรในร่างอมนุษย์เพราะได้รับรังสีแล้วไม่ตายกลับมีพลังวิเศษเข้าขัดขวาง เอมอรเข้าบังลูกกระสุนให้เขาจนได้รับบาดเจ็บ ทันใดนั้น สร้อยพระนาคปรกที่คล้องคออินทุการ่วงหล่น ทำให้ท้องฟ้าสั่นสะเทือน เกิดสายรุ้งขึ้น อินทุกามีพลังจิตแล้วใช้พลังพุ่งใส่ดร.อมรกระเด็นหายไป เอมอรปิดเรื่องอินทุกามีพลังพิเศษไม่ให้เขารู้ตลอดมา โดยให้สวมสร้อยพระนาคปรกไว้ตลอดเวลาเพื่อควบคุมไม่ให้อินทุกาใช้พลังนี้ แต่แล้วเอมอรก็สิ้นใจ เขาพาอินทุกาหนีมาเจอกับกินรีที่เป็นผีดิบไปแล้ว ไล่ล่าจนอินทุกาตกเหว เขาถูกกินรีจับไปให้ดร.อมรแต่เขาแกล้งเป็นบ้าเสียสติ ดร.อมรจึงส่งเขาไปไว้ที่โรงพยาบาลบ้า ผ่านมาสิบเจ็ดปีเขาหนีออกจากโรงพยาบาลบ้าได้และศัลยกรรมใบหน้าใหม่ แล้วสมัครเข้าเป็นอาจารย์สอนวิชาคหกรรมที่วิทยาลัยของดร.อมร

ต๋องตกหลุมรักแก้วรุ้งหลังจากที่เธอยื่นผ้าเช็ดหน้าช่วยซับเลือดให้ต๋องที่โดนเพื่อนซ้อมมา แก้วรุ้งเป็นเหยื่อรายต่อไปที่เหมันต์จะล่าไปให้ดร.อมรดูดเลือด เพราะด้วยความหล่อเหลาของเหมันต์ทำให้สาวๆ คลั่งไคล้เขามาก เขาจึงหลอกล่อหญิงสาวไปให้ดร.อมรแล้วจัดฉากว่าเป็นการฆ่าตัวตายหรือใช้ยาเสพติดเกินขนาด แต่ดร.อมรทำทีเป็นช่วยเหลือเงินทำขวัญและแสดงความเสียใจกับครอบครัวของหญิงสาวเหล่านั้น สร้างความปลื้มให้กระถินรีบเข้าไปสัมภาษณ์ทันที ดร.อมรสะดุ้งเมื่อเห็นแพระนาคปรกที่คอของกระถิน กระถินบอกว่ายายบัว (อรสา อิศรางกูรฯ) เป็นคนให้ใส่ติดตัวไว้ตั้งแต่เด็ก ดร.อมรไม่รู้ว่ากระถินกับอินทุกาเป็นคนๆ เดียวกัน เพราะวันที่อินทุกาตกเหวดันร่วงลงมาอยู่บนกอกระถินแล้วยายบัวมาเจอเก็บไปเลี้ยง และให้ใส่สร้อยพระนาคปรกที่ติดตัวมาไว้ตลอดเผื่อจะได้เจอพ่อแม่ ต๋องกับเหมันต์ได้เจอกันอีกครั้ง เหมันต์กลับไล่ให้ต๋องไปเรียนที่อื่น เพราะเป็นห่วงเพื่อนรักไม่อยากให้ได้รับอันตราย กระถินถูกแก็งสามสาวรสผลไม้แก้แค้นจ้างคนมาทำร้าย ต๋องเข้ามาช่วยโดนชกสลบ สร้อยพระนาคปรกที่คอของกระถินหลุดขาด ทำให้กระถินใช้พลังจิตเล่นงานคนร้ายแตกกระเจิง

อาจารย์เพี้ยนคิดว่าต๋องเป็นคนจิตใจดีและจะทำให้เขาเป็นยอดมนุษย์พันธุ์ใหม่เพื่อสู้กับดร.อมร โดยนำร่างเขาขณะสลบเข้าตู้แคปซูลแล้วฉายรังสีเพื่อให้มีพลังพิเศษ วันรุ่งขึ้น เขาฟื้นขึ้นมาแล้วสามารถมองเห็นไปได้ไกลแสนไกล เห็นเหตุการณ์ล่วงหน้า มีพลังมหาศาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เหมันต์จัดการแก้วรุ้งไปให้ดร.อมร โดยร่วมมือกับกินรีสร้างสถานการณ์ให้เหมันต์เป็นพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยแก้วรุ้งจากคนร้าย เขาหลอกแก้วรุ้งมาได้ แก้วรุ้งเผลอเรียกชื่อต๋อง เหมันต์จึงไม่อยากทำร้ายคนรักของเพื่อนแล้วช่วยพาเธอกลับหอพัก แก้วรุ้งมาเจอกินรีจะจับตัวเธอ แก้วรุ้งเห็นเขี้ยวผีดิบของกินรี เลยตกใจพลัดหล่นตกสะพาน จนน้ำมีเลือดแดงขึ้นมา กินรีเข้าใจว่าเธอตายแล้ว และวางแผนว่าเธอฆ่าตัวตาย กระถินไม่เชื่อ คิดว่าเป็นการฆาตกรรมและเชื่อว่าเป็นฝีมือของต๋องจากคำพูดของดร.อมรและกินรีที่ใส่ร้ายเขา อาจารย์เพี้ยนเป็นพยานให้ต๋องเพราะเมื่อคืนเขาอยู่กับอาจารย์ทั้งคืน อาจารย์เพี้ยนรับปากว่าจะหาฆาตกรให้ได้ และขอร้องให้เขาช่วยปราบปีศาจ ความจริงเหมันต์ช่วยชีวิตแก้วรุ้งมาไว้ที่บ้านพักชายทะเล และเลือดเมื่อคืนก็เป็นเลือดของเขาจากการถูกทำร้าย เขาไม่สามารถบอกความจริงกับเธอเรื่องดร.อมร จึงกุเรื่องว่าที่ทำไปเพื่อต้องการเอาชนะต๋อง ต๋องหนีการติดตามของกระถินที่หาตัวฆาตกรฆ่าแก้วรุ้ง มาเจอกับกินรีที่กำลังจะฆ่ากระถิน ต๋องช่วยกระถินไว้ไม่ให้ตกสะพานด้วยพลังพิเศษแต่กินรีหนีไปได้ และอธิบายกับกระถินว่าเขาฆ่าคนที่ตัวเองรักไม่ได้ กระถินรู้สึกน้อยใจต๋อง ส่วนเหมันต์เริ่มรู้สึกรักแก้วรุ้งมากขึ้น ทำให้กินรีจับพิรุธได้ประกอบกับเขาไม่ยอมล่าเหยื่อมาให้ดร.อมรเลย เขาต้องต่อสู้ฆ่าฟันกับต๋อง

อาจารย์เพี้ยนและอู๊ดร่วมมือกันทลายรังดร.อมร เหมันต์กลับมารักษาตัวที่บ้านชายทะเลโดยมีแก้วรุ้งเป็นคนคอยดูแล ทั้งคู่เริ่มรักกันมากขึ้น เหมันต์เผลอกลายสภาพเป็นผีดิบ ทำให้แก้วรุ้งเสียใจมาก หนีมาหาต๋องและกระถิน ส่วนกินรีแอบสะกดรอยตามมาฆ่าแก้วรุ้ง ต๋องต่อสู้กับกินรี ทันใดนั้น สร้อยพระนาคปรกของกระถินร่วงหล่น กระถินใช้พลังพิเศษไล่กินรีไปได้แต่กินรีคว้าตัวแก้วรุ้งไปด้วย ดร.อมรแค้นเหมันต์ทรยศ เขาสั่งให้เหมันต์กัดคอแก้วรุ้ง เหมันต์ทำไม่ได้ เขาต้องไปเอาตัวกระถินมาแลกเปลี่ยน ดร.อมรถึงจะยอมปล่อยตัวแก้วรุ้ง เขาดักจับกระถินในงานวันเกิดของอาจารย์เพี้ยน กระถินรู้ว่าอาจารย์เพี้ยนเป็นพ่อ แต่ต้องยอมเสี่ยงวางแผนกับเหมันต์เพื่อไปแลกตัวแก้วรุ้งคืนมา แม้ต๋องรักเธอไม่ยอมให้ไป เธอยืนยันทำตามแผนใส่ร้ายว่าฆาตกรที่ฆ่าแก้วรุ้งคืออาจารย์เพี้ยนและต๋องจึงโดนจับเข้าห้องขัง ต๋องเสียใจมาก ที่เธอต้องแต่งงานกับดร.อมรและถูกกัดเป็นผีดิบ กินรีไม่พอใจอย่างมากเพราะเธอรักดร.อมร จึงลอบฆ่ากระถิน แต่ถูกดร.อมรจัดการฆ่าทิ้ง เหมันต์กับแก้วรุ้งถูกขังอยู่ในคุก เหมันต์โดนแก๊งสามสาวรสผลไม้ที่กลายเป็นสาวกผีดิบของดร.อมรคอยฉีดยาพิษให้ร่างกายเน่าเปื่อยไปเรื่อยๆ ในงานแต่งงานของดร.อมรกับกระถิน อู๊ดกับเพื่อนๆ มาช่วยต๋องและอาจารย์เพี้ยนหนีออกมาจากห้องขังได้แล้วไปช่วยแก้วรุ้งกับเหมันต์ออกจากคุกดร.อมร ทั้งหมดมาแฉความจริงว่าดร.อมรเป็นปีศาจให้ทุกคนรู้ แล้วดร.อมรจะปกปิดความจริงไว้ได้หรือไม่ และใครจะเป็นฝ่ายชนะ เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต้องติดตามชมกันต่อไป
Read more »

มนต์รักลูกทุ่ง


คล้าว (ทฤษฎี สหวงษ์) คนจนนิสัยดี เป็นคนขยันทำมาหากิน เพื่อไถ่ที่นาที่ แม่คอน (ชุดาภา จันทเขต) ผู้เป็นแม่นำไปจำนองไว้กับจอม (สันติสุข พรหมศิริ) ผู้มีอิทธิพลในหมู่บ้าน เจิด (วรฤทธิ์ เฟื่องอารมณ์) ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของจอม ที่หลงรัก ทองกวาว (จิตตาภา แจ่มปฐม) ลูกสาวคนสวยเศรษฐี พ่อก้อน (อนันต์ บุญนาค) กับ แม่ทับทิม (จินตหรา สุขพัฒน์) เป็นคนสวย น่ารัก เรียบร้อย เชื่อฟังพ่อแม่ แต่ทองกวาวไม่ชอบที่เจิดเป็นนักเลงอันธพาลหัวไม้ ทองกวาวมีญาติสนิทชื่อ บุปผา (ณัฎฐพัชร วิพันธครตระกูล) สาวสวยวัยไล่เลี่ยกันเป็นที่ปรึกษาหัวใจ ส่วนบุปผาชอบ พี่แว่น (เบญจพล เชยอรุณ) เพื่อนสนิทของนายคล้าว คล้าวเป็นหนุ่มเนื้อหอมมีสาวๆ มาชอบมากมาย แต่ตนมีใจรักทองกวาวเพียงผู้เดียว ถึงแม้จะมี สายใจ ลูกสาวตามิ่ง (เป็ด เชิญยิ้ม) ขี้เมา คอยตามตื้อก็ตาม

ทองกวาวแอบไปพบคร้าวเสมอ เจิดเห็นเอามาฟ้องก้อน ก้อนทำโทษห้ามออกจากบ้าน เมื่อออกไปเจอคล้าวไม่ได้ คล้าวเลยแอบมาปีนบ้านหาทองกวาวนัดไปเจอกันที่เพิงกลางนา แต่แม่คอนไม่สบาย คืนนั้นคล้าวต้องอุ้มแม่ไปรักษาที่สุขศาลานอนเฝ้าแม่เลยไม่ได้ไปตามนัด ทองกวาวมารอคล้าวบังเอิญสายใจผ่านมาเจอทองกวาวเลยโกหกว่าคล้าวไม่มาเพราะเพิ่งแยกกับตนที่บ้าน ทองกวาวเชื่อคำพูดของสายใจ และเมื่อเจิดเอารถคันใหม่มารับที่บ้านแม้จะไม่ชอบเจิด แต่ก็ทนความตื๊อและคะยั้นคะยอของพ่อกับแม่ไม่ไหวจึงยอมนั่งรถออกไปกับเจิด คล้าวกลับจากเฝ้าแม่พร้อมสายใจมาเจอเจิดกับทองกวาว ทั้งสองฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน บุปผา รู้เรื่องเข้าจึงแอบไปบอกความจริงกับคล้าว คล้าวไปหาทองกวาว และบอกสาเหตุที่ตนเองไม่ไปตามนัด

ก้อนกับทับทิมให้จอมไปหาฤกษ์ จะได้ให้เจิดยกขันหมากมาขอทองกวาว ทองกวาวรู้เรื่องก็ร้องไห้เสียใจ ด้านคล้าวรู้เรื่องจึงพาแม่ไปทาบทามขอหมั้นทองกวาวตัดหน้าเจิด ตาก้อนหัวเราะเยาะเรียกสินสอดเป็นจำนวนเงิน 10 หมื่น ก้อนกับทับทิม กลัวทองกวาวจะหนีตามคล้าวก็เลยตัดสินใจส่งทองกวาวไปกรุงเทพฯไปอยู่บ้านพี่สาวก้อนชื่อ ทองคำ ให้เรียนตัดเย็บเสื้อผ้า โดยหลอกลูกสาวกับหลานสาวว่าเรียนจบเมื่อไหร่กลับมาบ้านก็ให้คล้าวมาสู่ขอได้ ทองกวาวกับบุปผาดีใจไปบอกเรื่องนี้กับคล้าวและแว่นว่าให้รออีกปี เมื่อไปถึงสองสาวตั้งใจเรียน ต่างส่งจดหมายมาให้คล้าวและแว่นแต่ก็โดนก้อนเอาเผาไฟหมด

ระหว่างนั้นทองกวาวมีชายเจ้าชู้หลานป้าทองคำมาชอบชื่อ ธรรมรักษ์ (ศรันยู ประชากริช) ที่แอบมีเมียเป็นนักร้องชื่อ ฤทัย (ปิยะดา ตุรงคกุล) และลูกน้องของธรรมรักษ์ชื่อ ธีระ (ภุชงค์ โยธาพิทักษ์) มาติดพันบุปผา แต่ทองกวาวและบุปผาไม่สนใจ ทองกวาวพบ บุญยืน (เอกชัย ศรีวิชัย) ที่มาเป็นนักร้องในคลับของธรรมรักษ์ โดยบังเอิญ สองสาวเข้ามาสอบถามถึงได้รู้ว่าเพลงนี้แว่นฝากมาให้ร้องให้คนกรุงเทพฟัง ทั้งทองกวาวและคล้าวได้รู้ข่าวคราวซึ่งกันและกัน โดยผ่านทางบุญยืนเป็นสื่อกลาง

ด้วยความที่กลัวลูกลำบาก อยากให้แต่งงานกับคนรวยมีฐานะอย่างธรรมรักษ์ พ่อก้อนจึงโกหกลูกสาวทองกวาวว่าคล้าวลืมทองกวาวแล้ว และได้ สายใจเป็นเมียไปแล้ว ด้านบุญยืนชวนคล้าวมาเล่นดนตรีที่คลับเพิ่งเปิดใหม่ของฤทัยที่กรุงเทพ คล้าวลาแม่ไปกรุงเทพ เพชร น้องทองกวาวเห็นใจคล้าว จึงยอมบอกที่อยู่ของทองกวาว ระหว่างทางเรือเกิดล่ม กระดาษที่จดที่อยู่ทั้งของบุญยืนและทองกวาวละลายน้ำไม่สามารถอ่านได้ พวกคล้าวกับแว่นต่างก็ตามหาทองกวาว บุปผา และบุญยืน จนหมดกำลังใจตัดสินใจกลับ แต่ก็โชคดีมาพบบุญยืนโดยบังเอิญ บุญยืนว่าเรื่องที่จะไปเล่นดนตรีที่คลับนั้นสายไปแล้ว เพราะเห็นคล้าวไม่มาเจ้านายก็เลยรับนักดนตรีวงอื่นไปแล้ว แต่ก็มีงานเล่นดนตรีในงานประกวดเทพีเหมันต์ ทั้งหมดไปรอเล่นดนตรีก็เลยเห็นทั้งทองกวาวและบุปผาที่เข้าประกวดเทพีเหมันต์ แว่นแอบเอาโน๊ตเพลงไปวางให้นักดนตรีเล่น คล้าวขึ้นไปร้องเพลงออกทีวีในงานนี้คู่กับทองกวา

รุ่งขึ้นคล้าวพายเรือไปหาทองกวาวที่บ้านทองคำ คล้าวเห็นทองกวาวเดินเล่นกับธรรมรักษ์ จึงเข้าใจผิดเกิดการวิวาทกับพวกธรรมรักษ์ ทองกวาวไล่คล้าวและให้เลิกกันดีกว่า คล้าวเสียใจมากจึงกลับบ้านนอก ด้านทองคำขอทองกวาวให้ธรรมรักษ์และบุปผาให้แก่ธีระ สองสาวที่กำลังอกหักตัดสินใจรับหมั้นกับธรรมรักษ์และธีระ

คล้าวกลับถึงบ้านจึงรู้ว่าจอมยึดนายึดบ้าน โดยปลอมหนังสือว่าแม่คอนไปยืมเงินตอนคล้าวไปกรุงเทพ และเมื่อได้ข่าวว่าทองกวาวรับหมั้นไอ้หนุ่มกรุงเทพ คล้าวก็ตัดสินใจย้ายบ้านไปหาที่ทำกินใหม่โดยมีสายใจตามไปด้วย

ก้อนกลับบ้านมาเตรียมงานหมั้นและแต่งงาน เมื่อจอมรู้ว่าธรรมรักษ์ยอมทุ่มสินสอดแบบไม่อั้นเพื่อมาขอทองกวาว จึงคิดวางแผนปล้นสินสอด พร้อมจับตัวทองกวาวและป้าทองคำเป็นตัวประกันเรียกค่าไถ่

วันสุกดิบก่อนวันแต่งงาน พ่อก้อน แม่ทับทิมเมาเผลอบอกความจริงเรื่องที่ทำให้ ทองกวาว บุปผา คล้าว และแว่น เข้าใจผิดกัน เพชรรีบไปตามคล้าวเพื่อบอกความจริงแต่พอคล้อยหลังก็เห็นพวกเจิดเข้าปล้นเอาสินสอดและทองกวาวไปด้วยเพื่อเรียกค่าไถ่ เพชรรีบมาบอกคล้าวว่าพวกเจิดมาปล้นบ้านและจับเอาตัวทองกวาวไปด้วย คล้าวรีบติดตามไปช่วยและให้เพชรไปแจ้งตำรวจพร้อมตามชาวบ้านมาช่วยคล้าว

คล้าวจะสามารถช่วยทองกวาวได้หรือไม่ และความรักระหว่างทองกวาวกับคล้าว และบุปผากับแว่น จุลงเอยกันเช่นไร ต้องติดตามใน “มนต์รักลูกทุ่ง”



บทประพันธ์ : -
บทโทรทัศน์ : -
กำกับการแสดง : ณรงค์ จารุจินดา
ออกอากาศทุกวัน : ศุกร์ 20.15 และ เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 20.30 น. ทางไทยทีวีสีช่อง 3

นักแสดง
ทฤษฎี สหวงษ์ แสดงเป็น คล้าว
จิตตาภา แจ่มปฐม แสดงเป็น ทองกวาว
วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์ แสดงเป็น เจิด
โกสินทร์ ราชกรม แสดงเป็น เชน
สันติสุข พรหมศิริ แสดงเป็น จอม
จินตหรา สุขพัฒน์ แสดงเป็น ทับทิม
เมย์ เฟื่องอารมย์ แสดงเป็น สายใจ
เบญจพล เชยอรุณ แสดงเป็น แว่น
ณัฎพัชร วิพันธครตระกูล แสดงเป็น บุปผา
อนันต์ บุนนาค แสดงเป็น ก้อน
ศรัญยู ประชากริช แสดงเป็น ธรรมรัตน์
สราวุฒิ พุ่มทอง แสดงเป็น หมู่น้อย
เอกพันธ์ บันลือฤทธิ์ แสดงเป็น หมึก
ปีเตอร์ หลุยส์ ไมอ็อกซิ แสดงเป็น สมุน 1
โจโจ้ หลุยส์ ไมอ็อกซิ แสดงเป็น สมุน 2
เป็ด เชิญยิ้ม แสดงเป็น มิ่ง
กรุง ศรีวิไล แสดงเป็น หลวงพ่อฉุน
อรสา พรหมประทาน แสดงเป็น ทองคำ
ตี๋ เชิญยิ้ม แสดงเป็น ตี๋
ริชาร์ด เกียนี่ แสดงเป็น เพชร
จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม แสดงเป็น ไข่
ปิยะดา ตุรงคกุล แสดงเป็น ฤทัย
ศานติ สันติเวชกุล แสดงเป็น เสือผาด
ภุชงค์ โยธาพิทักษ์ แสดงเป็น ธีระ
ลลิน ธนะภูมิ แสดง
Read more »

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

คำนมัสการบูชาพระ

คำกล่าวนมัสการบูชาพระรัตนตรัย
เป็นการรำลึกถึงพระพุทธคุณเบื้องต้นก่อนสวดมนต์ บูชาพระ หรือทำพิธีการต่างๆ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ




คำขอขมาพระรัตนตรัย
อุกาสะ อัจจะโย โน ภันเต อัจจัคคะมา ยะถาพาเล ยะถามุฬเห ยะถาอะกุสะเล เย มะยัง กะรัมหา เอวัง ภันเต มะยัง อัจจะโย โน ปะฏิคคัณหะถะ อายะติง สังวะเรยยามิ



คำกล่าวบูชาไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ต่อไปพระผู้นำกล่าวรับว่า)
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย

พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต
ธัมมะบูชา มหาปัญโญ
สังฆะบูชา มหาโภคะวาโห
ติโลกะนาถัง อภิปูชะยามิ

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปูริสะทัมมสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ (กราบ)
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)
Read more »

ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกมีดังนี้

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา
๒.
อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ
อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
สุคะตัง สิระสา นะมามิ
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ
๓.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
๔.
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทธัง สิระสา นะมามิ
๕.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
๖.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
๗.
อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
๘.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
๙.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
๑๐.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
๑๑.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
๑๒.
กุสะลา ธัมมา
อิติปิ โส ภะคะวา
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ชมภูทีปัญจะอิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นะโม พุทธายะ
นะโม ธัมมายะ
นะโม สังฆายะ
ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง
อา ปา มะ จุ ปะ
ที มะ สัง อัง ขุ
สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ
อิ สวา สุ สุ สวา อิ
กุสะลา ธัมมา
จิตติวิอัตถิ
๑๓.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา
๑๔.
กุสะลา ธัมมา
นันทะวิวังโก
อิติ สัมมาพุทโธ
สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน
อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตาวะติงสา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู
มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ยามา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
พรหมมาสัททะ
ปัญจะ สัตตะ
สัตตาปาระมี
อะนุตตะโร
ยะมะกะขะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
๑๕.
ตุสิตา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
ปุ ยะ ปะ กะ
ปุริสะทัมมะสาระถิ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
๑๖.
นิมมานะระติ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
เหตุโปวะ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
๑๗.
ปะระนิมมิตะ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
สังขาระขันโธ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
รูปะขันโธ พุทธะปะผะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
๑๘.
พรหมมา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
นะโม พุทธัสสะ
นะโม ธัมมัสสะ
นะโม สังฆัสสะ
พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
๑๙.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ
อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
๒๐.
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง
พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง
จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง
เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง
อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง
มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง
สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง
พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง
อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา
อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
๒๑.
สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง
โมกขัง คุยหะกัง
ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง
สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
๒๒.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม อิติปิโส ภะคะวา
๒๓.
นะโม พุทธัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
๒๔.
นะโม ธัมมัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
๒๕.
นะโม ธัมมัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
๒๖.
นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง
๒๗.
นะโม พุทธายะ
มะอะอุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
ยาวะ ตัสสะ หาโย
นะโม อุอะมะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
อุ อะมะ อาวันทา
นะโม พุทธายะ
นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ
อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
Read more »

คำถวายของใส่บาตร

อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิขูนัง นยาเทมิ สุทินัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง นิพานะปัจจะ
(ข้าพเจ้าขอน้อมถวายทานอันนี้ แด่พระสงฆ์ผู้มีศีลทั้งหลาย ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ)
หรืออาจกล่าวเป็นภาษาไทยเวลาจบขันข้าวใส่บาตรดังนี้
ข้าวของข้าพเจ้า ขาวดังดอกบัว ยกขึ้นเหนือหัว ถวายแด่พระสงฆ์ จิตใจจำนง ตรงต่อพระนิพพาน
Read more »

คำภาวนาเวลาทอดผ้าหน้าศพให้พระบังสุกุล

นามะรูปัง อะนิจจัง นามะรูปัง ทุกขัง นามะรูปัง อะนัตตา
(นามรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน)
Read more »

คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์

พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงและตั้งคำอธิษฐานว่า
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร

๑.ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา
พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว
เสวยอมตรสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ
เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
๒.ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก มุนิสสะรา
มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
๓.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
๔.หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง
๕.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเล
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
๖.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
มุนีผู้ประเสริฐคือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
๗.กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ
มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
๘.ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี
พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
๙.เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
๑๐.ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะ ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร
เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
๑๒.ชินนานา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง
สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
๑๓.อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะ โต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ
เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม
แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน
อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น
เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
๑๔.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพเต มะหาปุริสาสะภา
ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น
จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
๑๕.อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า
ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ
แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ
Read more »

คาถาแผ่เมตตา

(แผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย)
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
Read more »

คำสวดธัมมะจักร

ธัมมะจักรนี้ถ้าท่านใดได้สวดจะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าจะเป็นกิจการงานแขนงไหนที่ทำอยู่จะมีความเจริญก้าวหน้า เพราะว่าธัมมะจักรเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโปรดนักบวชปัญจวคีย์ และยังเป็นวงล้อที่หมุนเป็นครั้งแรกของพระพุทธศาสนา จึงนับว่าเป็นการลำบากที่ผู้คนทั้งหลายจะได้สวด และยังจะเป็นการเปลื้องทุกข์ภัยต่างๆ นานาได้อีกด้วย สิ่งร้ายจะกลายเป็นดีและยังทำให้มีอายุยืน มีความสุขกาย สุขใจ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ยามานัง เทวานัง
ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พรหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรหมะกายิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พรหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรหมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พรหมะปุโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรหมะปุโร หิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
มะหาพรหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง มะหาพรหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อาภัสสะระ เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อสัญญะสัตตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อสัญญะสัตตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสสะมินติ
Read more »

เกิดวันไหน ควรออกรถวันอะไรดีในปี 2554 มาดู ฤกษ์ออกรถปี 2554 ตามวันเกิดกันค่ะ

ฤกษ์ออกรถปี 2554 ตามวันเกิด ท่านที่เกิดวันอาทิตย์
ควรออกรถในวันอังคาร ซึ่งจะทำให้เจ้าดวงชะตามีบุญวาสนาเกียรติยศ ชื่อเสียงยาวไกล รองลงมาเป็นวันพุธ จะนำความเจริญรุ่งเรือง อุดมไปด้วยโภคทรัพย์ ยังมีคนอุปภัมภ์ค้ำชูมีชื่อเสียงในวงสังคม สามารถออกรถวันที่กล่าวได้ทั้งปี

ฤกษ์ออกรถปี 2554 ตามวันเกิด ท่านที่เกิดวันจันทร์
ควรออกรถในวันพุธกลางวัน ซึ่งจะทำให้เจ้าชะตามีอำนาจวาสนา เป็นที่เกรงใจของคนทั่วไป ยังเป็นที่รักของคนพบปะพูดคุย ประสานงานสำเร็จผ่านไปได้ด้วยดี ออกรถได้ทั้งปี แต่หลังวันที่ 14 เมษายน 2554 ไปแล้ว สามารถออกรถในวันศุกร์ ซึ่งเป็นวันที่ดีมาก เพราะเป็นวันธงไชยและวันอธิบดี จะมีคนอุปถัมภ์ช่วยเหลือเกื้อกูลดี ยังมีเสน่ห์ เป็นที่นิยมชื่นชอบ คนเห็นคนรัก จนมีชื่อเสียงโด่งดัง

ฤกษ์ออกรถปี 2554 ตามวันเกิด ท่านที่เกิดวันอาทิตย์อังคาร
ควรออกรถในวันอังคารกับพฤหัส ในช่วง 1 มกราคม 2554 – 14 เมษายน 2554 จะทำให้เจ้าดวงชะตา มีทรัพย์สินเงินทองเพิ่มพูนมากขึ้น มีความเจริญรุ่งเรือง มีลูกน้องบริวารช่วยเหลือดี ญาติพี่น้องรักใคร่กลมเกลียวสนิทสนมกันดี หลังวันที่ 14 เมษายน 2554 จนถึงสิ้นปี ออกรถได้ในวันเสาร์ ซึ่งจะทำให้เจ้าดวงชะตามีอำนาจวาสนา ได้รับความเคารพนับถือ ทั้งยังมีความน่าเกรงขามอีกด้วย

ฤกษ์ออกรถปี 2554 ตามวันเกิด ท่านที่เกิดวันพุธกลางวัน (06.00 น.-17.59 น.)
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 – 14 เมษายน 2554 ให้ออกรถในวันพฤหัสบดี ซึ่งจะทำให้ท่านมีอำนาจวาสนา เกียรติยศชื่อเสียง ส่วนหลังวันที่ 14 เมษายน 2554 ไปแล้วให้ออกรถในวันพุธกับวันศุกร์ ซึ่งจะนำความเจริญ ทรัพย์สินเงินทอง เพิ่มมากขึ้น คนในครอบครัวรักใคร่สามัคคีกันดี

ฤกษ์ออกรถปี 2554 ตามวันเกิด ท่านที่เกิดวันพุธกลางคืน (18.00 น.-05.59 น.)
ออกรถในวันจันทร์ได้วันเดียวตลอดทั้งปี ซึ่งจะทำให้เป็นเกียรติเป็นศรี เป็นสิริมงคลในตนเอง ยังนำความเจริญก้าวหน้าในกิจการ ทรัพย์สินเงินทองเพิ่มพูนมากขึ้น

ฤกษ์ออกรถปี 2554 ตามวันเกิด ท่านที่เกิดวันพฤหัสบดี
ออกรถวันพุธกลางวันได้ตลอดปี จะนำความเจริญรุ่งเรืองในกิจการ การงาน ด้านมนุษยสัมพันธ์ดี มีผู้ช่วยเหลืออุปถัมภ์ค้ำจุน แต่ถ้าจะออกรถช่วง 1 มกราคม 2554 – 14 เมษายน 2554 ให้ออกรถในวันพฤหัสบดี จะทำให้มีคู่ ครองรักตลอดเวลา แถมยังมีลูกน้องบริวารรัก มีบุตรดี ส่วนถ้าเป็นวันที่ 15 เมษายน 2554 เป็นต้นไป ให้ออกรถในวันศุกร์ ทำให้มีเสน่ห์ เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ได้พบเห็น ทั้งยังน่าเกรงขาม เกรงกลัวและมีชื่อเสียงเกรียงไกร

ฤกษ์ออกรถปี 2554 ตามวันเกิด ท่านที่เกิดวันศุกร์
สามารถออกรถได้ในวันจันทร์และอังคารตลอดทั้งปี จะนำความเจริญรุ่งเรืองในกิจการ เป็นสิริมงคลให้กับเจ้าดวงชะตาด้วย แต่ถ้าจะออกรถช่วง 1 มกราคม 2554 – 14 เมษายน 2554 ให้ออกรถในวันพฤหัสบดี จะทำให้มีคนคอยช่วยเหลือจุลเจือ ค้ำชูให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนถ้าเป็นวันที่ 15 เมษายน 2554 เรื่อยไปจนถึงสิ้นปี ให้ออกรถในวันศุกร์ จะทำให้เป็นที่รักของคู่ครอง ลูกหลาน ลูกน้องบริวาร ญาติสนิทรักใคร่กลมเกลียวกันดี

ฤกษ์ออกรถปี 2554 ตามวันเกิด ท่านที่เกิดวันเสาร์
ให้ออกรถในวันอังคารกับวันพุธกลางคืน (หลัง 18.00 น.) ได้ตลอดทั้งปี จะมีคนหนุนให้มีอำนาจวาสนา มีเกียรติยศชื่อเสียงตามมา แต่ถ้าต้องออกรถหลังวันที่ 15 เมษายน 2554 จนถึงสิ้นปี ให้ออกรถในวันศุกร์ จะทำให้เป็นที่รักของคนอื่น ซึ่งจะนำเกียรติยศ ศักดิ์ศรีมาสู่วงศ์ตระกูล มีความมั่นคงและมั่งคั่งในอสังหาริมทรัพย์ด้วย
http://www.horoworld.com/
Read more »

 
Powered by MBA